มุมมองกว้าง ๆ ของ การรับรู้ไฟฟ้า

การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าแบบแอ๊กถีฟวัตถุที่นำไฟฟ้า (Conductance) จะทำให้สนามไฟฟ้าเข้มขึ้น ส่วนวัตถุที่ต้านไฟ (Resistance) จะทำให้สนามไฟฟ้ากระจายออกปลางวงช้างน้ำจืด (วงศ์ Mormyridae) ในสกุล Gnathonemus มีสนามไฟฟ้ากระจายออกมาจากอวัยวะไฟฟ้าแถวหาง (แสดงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเทา)มีบริเวณผิวหนังที่รับรู้ไฟฟ้า คือรูไฟฟ้า (electric pit, fovea) คู่หนึ่งที่สามารถสืบหาและตรวจสอบวัตถุต่าง ๆ อย่างแอ๊กถีฟภาพที่เห็นเป็นการบิดเบือนของสนามไฟฟ้าโดยวัตถุ 2 ประเภท คือ (ภาพบน) พืช (เขียว) ที่นำไฟฟ้าได้ดีกว่าน้ำ และ (ภาพล่าง) ก้อนหิน (เทา) ที่ไม่นำไฟฟ้า[2][3]
ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: ปลาไฟฟ้า

จนกระทั่งเร็วนี้ ๆ การรับรู้ไฟฟ้าพบแต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังแต่งานศึกษาปี 2013 แสดงว่า ผึ้งสามารถตรวจจับทั้งการมีประจุไฟสถิต (static charge) และรูปแบบของประจุไฟบนดอกไม้ได้[4]ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง การตรวจจับไฟฟ้ามีอยู่ในบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้าย (last common ancestor) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด[5]เป็นการรับรู้ไฟฟ้าที่เรียกว่า ampullary electroreception (การรับรู้ไฟฟ้าด้วยกระเปาะ) ด้วยอวัยวะรับรู้ไฟฟ้าคือ กระเปาะลอเร็นซีนี (Ampullae of Lorenzini)[1]แม้สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถรับรู้ไฟฟ้าจะไม่มีอวัยวะนี้ทั้งหมดแต่ปลากระดูกอ่อน (รวมฉลาม, ปลากระเบน, ปลาอันดับ Chimaeriformes), ปลาปอด, ปลาวงศ์ Polypteridae (bichir), ปลาซีลาแคนท์, ปลาสเตอร์เจียน, ปลาวงศ์ Polyodontidae (paddlefish), ซาลาแมนเดอร์น้ำ และเขียดงู ก็ล้วนมีอวัยวะนี้[5][6]สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นที่รับรู้ไฟฟ้าได้ เช่น ปลาหนัง ปลาไหลไฟฟ้า ปลางวงช้าง โมโนทรีม และวาฬและโลมาอย่างน้อยพันธุ์หนึ่ง ล้วนรับรู้ไฟฟ้าด้วยกลไกต่างกันซึ่งปรับระบบอื่นมาใช้[1][7]

การรับรู้ไฟฟ้าด้วยกระเปาะเป็นแบบไม่ต้องทำอะไร/พาสซีฟ และใช้โดยหลักเพื่อล่าเหยื่อ[8][9][1]ปลา 2 กลุ่มใน infraclass "Teleostei" (ชื่อสามัญ teleost) ปล่อยไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ และรับรู้ไฟฟ้าอย่างแอ๊กถีฟ คือ ปลาน้ำจืดเขตร้อนทวีปอเมริกาอันดับ Gymnotiformes (knifefish) และปลางวงช้างแอฟริกาใน suborder "Notopteroidei" (มีทั้งในน้ำจืดน้ำกร่อย)สัตว์บกที่รับรู้ไฟฟ้าซึ่งมีน้อยมากก็คืออิคิดนาพันธุ์ Zaglossus bruijni (ในเกาะนิวกินี) ซึ่งมีตัวรับรู้ไฟฟ้า (electroreceptor) 2,000 ตัวที่ปาก เทียบกับ 40,000 ตัวสำหรับญาติของมันในกลุ่มโมโนทรีมซึ่งใช้เวลาส่วนหนึ่งในน้ำคือตุ่นปากเป็ด (ในออสเตรเลียตะวันออก)[10]

ใกล้เคียง

การรับรู้รส การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้ไฟฟ้า การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรัดเท้า การรับรู้ความใกล้ไกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับรู้ไฟฟ้า http://www.cell.com/current-biology/abstract/S0960... http://www.honeybee.neurobiologie.fu-berlin.de/col... http://faculty.bennington.edu/~sherman/the%20ocean... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1692308 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3248726 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3351409 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3619523 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3973673 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10210663 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10210685